ReadyPlanet.com


TO THE MOON AND BACK


TO THE MOON AND BACK (2018) - Trailer - YouTube

 

   ในช่วงทศวรรษที่ 1950s เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง และการช่วงชิงอำนาจผ่านสงครามทางกายภาพผันตัวเข้าสู่การเมืองรูปแบบใหม่ในยุคสงครามเย็น (ค.ศ. 1947-1989) สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ในฐานะสองขั้วมหาอำนาจต่างอุดมการณ์ เลือกผลิตนโยบายสร้างแสนยานุภาพให้กับตนเอง ด้วยการมุ่งพัฒนาความแข็งแกร่งทางการทหาร และเทคโนโลยี อันรวมไปถึงความพยายาม ในการออกสำรวจและพิชิตอวกาศ โดยมีจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลเป็นเดิมพัน

     ในปี ค.ศ. 1957 สหภาพโซเวียดประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 (Sputnik 1) ขึ้นสู่วงโคจรของโลก ก่อนที่ในปี ค.ศ. 1961 ยูริ กาการิน (Yuri Gagarin) จะกลายเป็นมนุษย์อวกาศคนแรกที่พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาสามารถเดินทางรอบโลกหนึ่งวงโคจรภายในระยะเวลา 108 นาที ได้อย่างปลอดภัย ไม่นานหลังจากนั้นประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี (John F. Kennedy) ก็ลั่นวาจาว่าก่อนสิ้นทศวรรษที่ 1960s สหรัฐอเมริกาจะต้องเป็นประเทศแรกที่ประสบความสำเร็จในการพิชิตดวงจันทร์ และในวันนั้นการแข่งขันทางอวกาศที่มือนาคตเป็นเป้าหมายจึงถือกำเนิดขึ้น

     หากบทบาทหนึ่งของแฟชั่นคือการมีหน้าที่บันทึกเรื่องราวทางการเมืองและความเปลี่ยนแปลงในสังคม แฟชั่นยุคอวกาศ(Space-Age Fashion) ที่กลายเป็นกระแสนิยมอย่างรวดเร็วในช่วงเวลานั้น ก็ไม่ต่างจากหลักฐานที่ยืนยันให้เห็นชัดเจนถึงความปรารถนาจะเป็นที่หนึ่งของมนุษย์ ด้วยการมุ่งใช้แนวคิดพิชิตอวกาศเป็นเครื่องมือเพื่อก้าวเข้าสู่อนาคตและเปลี่ยนแปลงอดีต

     ทศวรรษที่ 1960s ได้ชื่อว่าเป็นยุคสมัยแห่งความเปลี่ยนแปลง วัยรุ่นมีบทบาทมากขึ้นในสังคม พวกเขาตั้งคำถามถึงสิทธิ เสรีภาพความเท่าเทียมกัน และการมีตัวตน (Identity)พวกเขาต้องการชีวิตอันเป็นอิสระที่หลุดพันจาก

พันธนาการของโลกอดีต ซึ่งอำนาจยังคงผูกโยงติดแน่นเอาไว้กับกรอบความคิดยุคหลังสงคราม นักออกแบบแฟชั่นรุ่นใหม่ในเวลานั้นได้แก่ อองเดร กูร์แรจ (Andre Courreges)ปิแอร์ การ์แดง (Pierre Cardin) และปาโกราบานน์ (Paco Rabanne) จึงเลือกที่จะปลดระวางโครงสร้างของเครื่องแต่งกายอันโบราณคร่ำครึ และเต็มไปด้วยกฎระเบียบของความ

หรูหราน่าเบื่อหน่าย ที่เชื่อมมนุษย์เข้าไว้กับมาตรฐานของความดีงามแบบช่วงทศวรรษที่1950s ด้วยการสร้างอนาคตใหม่ให้กับร่างกายของเรา ผ่านการใช้รูปทรงเรขาคณิตผสมผสานเข้ากับวัสดุอุตสาหกรรมอันทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นหนังเทียม พีวีซี หรือแม้กระทั่งแผ่นพลาสติก

     กูร์แรจถือได้ว่าเป็นหัวหอกคนสำคัญจากฝรั่งเศส ที่หยิบอวกาศมาเป็นแรงบันดาลใจในคอลเล็กชั่นปี ค.ศ. 1964 ซึ่งเขาผลิตเสื้อผ้าทั้งหมดภายใต้รูปทรงเหลี่ยมมุมของเรขาคณิตทั้งชุดกระโปรงสั้นทรงเอยาวเหนือเข่า (A-LineDress) เสื้อแจ๊กเก็ตเอวลอยลายทาง รวมไปถึงเครื่องประดับที่ชวนให้นึกถึงเครื่องแต่งกายของนักบินอวกาศ เช่น แว่นตากันลมขนาดใหญ่(Goggles) รองเท้าบู๊ตหุ้มข้อ และหมวกครอบศีรษะ (Space Helmet) ที่สะท้อนแนวคิดอันสวนทางกับรูปร่างเครื่องแต่งกายแบบนิวลุค(New Look) ของดิออร์ (Dior) ในยุคก่อนหน้านั้นโดยเฉพาะเมื่อกูร์แรจต้องการให้ผู้หญิงสวมเสื้อผ้าของเขาได้อย่างอิสระและเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเสรี เสื้อผ้าในความหมายใหม่จึงไม่ต่างจากวัตถุห่อหุ้มร่างกาย ที่ทำหน้าที่เพียงล่องลอยอยู่รอบตัวเรา ราวกับมวลสารในภาวะไร้น้ำหนัก

     ขณะที่ปีแอร์ การ์แดง ใช้ภูมิหลังในด้านสถาปัตยกรรมผสมผสานเข้ากับงานออกแบบแฟชั่น ด้วยการดึงเอารูปทรงเรขาคณิตมายึดขยาย พร้อมกับปรับรูปฟอร์ม แล้ววางร่างกายมนุษย์ซ้อนกลับเข้าไปในรูปทรงใหม่ที่เกิดขึ้นจนส่งผลให้งานออกแบบของเขามีคุณลักษณะไม่ด่างจากประติมากรรมที่ผลิตขึ้นด้วยวัสดุสมัยใหม่ ยิ่งไปกว่านั้นการ์แดงยังพยายามนำเสนอโครงสร้างของเสื้อผ้าแบบยูนิเซ็กส์(Unisex) ในฐานะของเครื่องแต่งกายจากอนาคตที่การจำแนกแยกเพศไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ขณะเดียวกันเขาก็ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนโครงสร้างของเครื่องแต่งกายชายประเพณีนิยมด้วยการนำเสนอสูทแจ๊กเก็ตคอกลมทรงกระบอก (Cylinder Jacket) ที่จงใจกำจัดโครงสร้างของปกเสื้อตามธรรมเนียมเก่าออกแล้วปล่อยรูปทรงของชุดสูทให้เป็นอิสระกับร่างกายมากขึ้น จนแทบไม่ต่างจากการสื่อถ้อยความของเจตจำนงจากคนในโลกใหม่ ที่ต้องการปลดตัวออกจากอดีต

เว็บ บาคาร่า อันดับต้นๆของไทย

     การใช้แนวคิดพิชิตอวกาศเพื่อปิดฉากอดีตปรากฎชัดเจนมากขึ้นในผลงานออกแบบของปาโก ราบานน์ ดีไซเนอร์ชาวสเปน ที่นำเสนอเครื่องแต่งกายล้มล้างทุกทฤษฎีของการผลิตเสื้อผ้า ด้วยการใช้วัสดุที่ทำจากแผ่นโลหะและพลาสติกประกอบเข้าด้วยกัน ผ่านการเจาะร้อยห่วงที่ทำให้การปฏิเสธวัสดุและขั้นตอนการตัดเย็บแบบเดิมๆ ส่งผลให้ผู้สวมใส่เครื่องแต่งกายของเขาดูไม่ต่างกับนักท่องอวกาศที่ยืนหยัดชัดเจนถึงนิยามทางเลือกใหม่และความเป็นไปได้ของเครื่องแต่งกายแห่งอนาคต

     ฉากทัศน์ของเครื่องแต่งกายแห่งอนาคตนี้ยังถูกแสดงให้เห็นในผลงานของรูดี เกิร์นไรซ์(Rudi Gernreich) นักออกแบบแฟชั่นชาวอเมริกันเชื้อสายยิว-ออสเตรีย ที่เล่นสนุกกับการคันหารูปทรงใหม่ให้กับร่างกายมนุษย์ เกิร์นไรซ์กล่าวว่าเสื้อผ้าในความหมายแบบเดิมได้ตายไปแล้วอย่างสิ้นเชิง เพราะสำหรับเขาแล้วในอนาคตอันใกล้มนุษย์จะยอมรับความแตกต่างในร่างกายของตนเองมากขึ้น เช่นเดียวกับที่เสื้อผ้าจะถูกลดทอนให้กลายเป็นเพียงสิ่งห่อหุ้มร่างกายที่เน้นการใช้ประโยชน์ และมีหน้าที่เพียงแค่เครื่องมือเพื่อช่วยกระตุกเตือนทำให้เราได้มองเห็นความสำคัญของสิ่งอื่นรอบตัว

 

 

      ภายใต้แนวคิดเช่นนี้เองที่อวกาศและโลกอนาคตกลายเป็นเครื่องมือในการทำงานของเกิร์นไรซ์ นอกเหนือจากผลงานการออกแบบเครื่องแต่งกายให้กับละครโทรทัศน์จากประเทศอังกฤษเรื่อง Space: 1999 (ค.ศ. 1975-1977) ที่นอกจากจะเล่าเรื่องราวของนักสำรวจอวกาศบนสถานีวิจัยบนดวงจันทร์แล้ว เกิร์นไรซ์ยังใช้ผ้ายืดใยสังเคราะห์สร้างเครื่องแต่งกายอันปราศจากเพศ (Genderless) ที่สามารถปรับเปลี่ยนร่างกายมนุษย์จากรูปทรงเรขาคณิตไปสู่รูปทรงใหม่อันแปลกประหลาดอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนเขาท้าทายกรอบความเชื่อและมาตรฐานความคิดของโลกเก่า ด้วยชุดว่ายน้ำแบบโมโนกินี(Monokini) ในปี ค.ศ. 1964 ที่เปิดเปลือยร่างกายอย่างอิสระและสวมใสโดยนางแบบคู่ใจ เพกกีมอฟฟิตต์ (Peggy Moffitt) ไปจนถึงผลงานที่จัดแสดงในนิทรรศการโลก ณ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี ค.ศ. 1970 (Osaka Expo"70 WorldFair) ด้วยการส่งสาส์นถึงความเท่าเทียมกันทางเพศด้วยการให้นายแบบและนางแบบโกนศีรษะ สวมบอดี้สูท และเครื่องแต่งกายแบบเดียวกันจนดูราวกับเป็นภาพสะท้อนของอดัมและเอวาแห่งโลกอนาคต

     "หนึ่งก้าวเล็กๆ ของมนุษย์คนหนึ่งได้กลายเป็นก้าวอันยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ" คือประโยคที่ถูกกล่าวโดยนีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong)ขณะที่เขาประทับรอยเท้าลงบนพื้นผิวของดวงจันทร์หลังจากที่ยานอวกาศอพอลโล 11 (Apollo 11)เคลื่อนลงจอดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969ในสมัยของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) พร้อมกับปิดฉากสงครามพิชิตอวกาศกับสหภาพโซเวียต

     แล้วในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1991 สหภาพโซเวียตก็ถึงกาลล่มสลายอย่างเป็นทางการ และส่งผลให้เกิดสาธารณรัฐอิสระถึง 15 ประเทศจากนั้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 รัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน

(Vadimir Putin) ก็ประกาศเริ่มปฏิบัติการพิเศษทางทหารกับประเทศยูเครนอย่างเป็นทางการเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ในการฟื้นคืนความยิ่งใหญ่ของสหภาพโซเวียตอีกครั้ง

     ภายใต้จักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลมนุษย์ออกเดินทางไปในอวกาศเพื่อสำรวจและตั้งคำถามถึงอนาคต เราพิชิตอวกาศเพื่อเปลี่ยนอดีต สร้างความเท่าเทียม และเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ แต่น่าเสียดายที่ในวันซึ่งอนาคตและการสำรวจอวกาศไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปสำหรับบางคนอดีตกลับไปไม่ถึงไหน แต่ยังคงตามหลอกหลอนและล่อลวงให้ติดอยู่กับความทรงจำที่ห่างไกลเกินจากความเป็นจริง

 

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ ngongsus :: วันที่ลงประกาศ 2022-06-23 12:46:39


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2013 All Rights Reserved.