ReadyPlanet.com


แฟชั่นโลก ย้อนรอยประวัติศาสตร์แฟชั่นของสังคมตะวันตกและสังคมตะวันออก


  แฟชั่นโลก

 

ศัลยกรรมตา ตาสองชั้น จัดเรียงไขมันใต้ตา นำถุงไขมันใต้ตาออก และอื่นๆ อีกมากมาย จากแพทย์ศัลยกรรมชั้นนำจากเกาหลี เข้าถึงง่าย ไม่ต้องบินไกลไปถึงเกาหลีกับ K Beauty Hospital


แฟชั่นโลก การแต่งกายที่มีมายาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


แฟชั่นโลก หากถามว่า แฟชั่นคืออะไร หลายคนอาจจะบอกว่า แฟชั่น ก็เป็นแค่การแต่งกาย และเป็นไปตามรสนิยม ของผู้คนในสังคม ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ขณะที่บางคนอาจจะมองว่า แฟชั่นก็คือการแสดงออกถึงความชอบ และเป็นตัวตนของบุคคลนั้น ๆ ที่อาจมีความ สอดคล้อง หรือ ไม่สอดคล้อง กับค่านิยมของคนในสมัยนั้นเลยก็ได้

ว่ากันว่าประวัติศาสตร์ของแฟชั่น สมัยใหม่ เริ่มต้นจากยุคเรอเนซองซ์ เพราะยุคนี้มีส่วนสำคัญในการถือกำเกิดขึ้นของแฟชั่นสมัยไหม สิ่งที่เข้ามามีบทบาทและเป็นปัจจัยที่สำคัญก็คือ เทคโนโลยีการค้า และระบบการเงิน ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลง ทำให้มเกิดการขยายเครือข่ายการซื้อ-ขายเลือกเปลี่ยน สินค้าระหว่างดินแดน ที่กว้างไกลมากขึ้น และยังเอื้อต่อการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบต่าง ๆ จากทั่วโลกมาสู่ทวีปยุโรป

อีกสาเหตุ มาจากแนวคิดแบบ มนุษย์นิยม (humanism) ที่เกิดขึ้นในยุคนี้ เพราะมีการยึดถือในคุณค่า และความสำคัญของมนุษย์ ซึ่งก็ส่งผลทำให้ผู้คนหันมาสนใจในความงาม ของปัจเจคบุคคลมากขึ้น เราจะคุ้นเคยกับอิทธิพลของแนวคิดมนุษย์นิยมต่อศิลปะและวรรณกรรม แต่ในระนาบใกล้เคียงกัน แนวคิดนี้ยังส่งผลต่ออิทธิพลแฟชั่นอีกด้วย ในแง่ที่ว่า ผู้คนหันมาสนใจ และให้ความสำคัญ ผ่านการแสดงความงามทางเครื่องแต่งกายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มเศรษฐีใหม่ และ เหล่าพ่อค้าที่ประสบความสำเร็จจากการค้าขาย จนสามารถสะสมอำนาจ และเลื่อนสถานะตัวเองขึ้นมาได้สำเร็จ

นับจากยุคเรอเนซองซ์มา การแสดงความงามผ่านการแต่งตัว ก็ได้กลายเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น และไม่ได้ถูกผูกขาดอยู่ที่ชนชั้นในชนชั้นหนึ่ง เสมือนในยุคกลางอีกต่อไป โดยแฟชั่นในฐานะของ รสนิยม ก็ได้ถูกแพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ผ่านพ่อค้านักเดินทางบ้าง เอกสารต่าง ๆ และจดหมายต่าง ๆ อันเป็นผลสืบเนื่องจากเครือข่ายทางการค้า ที่มีความกว้างไกลขึ้นนั่นเอง

กระทั่งต่อมา ในศตวรรษที่ 17 นิตยสารแฟชั่นเกิดขึ้นมาครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส และได้ส่งผลทำให้ สำนึกทางแฟชั่น กลายเป็นสิ่งที่จับต้องและมองเห็นได้ขึ้นมาอย่างแจ่มชัด ก่อนที่การปฏิวัติอุสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 จะกลายมาเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ส่งผลทำให้วงการแฟชั่นมาแรงอย่างรวดเร็ว จากการผลิตที่เพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ นี่คือ ประวัติศาสตร์ของแฟชั่นสมัยใหม่ อย่างคร่าว ๆ

เวลาเรานึกถึงแฟชั่น หลายคนจะนึกถึงแฟชั่น ในฐานะ ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคพื้นทวีปยุโรป ก่อนจะแพ่ขยายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทั่วโลก ผ่านการค้า สงคราม และการล่าอาณานิยม ใช่ไหมล่ะ แต่ถ้าเรามาพิจารณาดูจากบริบทต่าง ๆ อีกที ก็ไม่แปลกถ้าแฟชั่นจะถูกรับรู้ในฐานะ สิ่งประดิษฐ์ ของโลกตะวันตก ทว่าคำถามคือ เราจะแน่ใจได้ไงว่า แฟชั่น นั้นถือกำเกิดขึ้นในโลกตะวันตกจริง ๆ

 

 

แฟชั่นโลก ขั้วตรงข้ามระหว่าง แฟชั่นตะวันตก และ แฟชั่นตะวันออก


เมื่อพูดถึงแฟชั่น ใคร ๆ ก็จะนึกถึง ปารีส เพราะปารีสคือมหานครที่ถูกขนานนามว่าเป็น เมืองหลวงของแฟชั่น ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจ หากจะพิจารณาจากมุมมองในปัจจุบัน เพราะอย่างที่รู้ๆ กันว่า เมืองหลวงแห่งนี้ไม่เพียงแต่จะมีห้องเสื้อของดีไซเนอร์ระดับโลกมากมาย

แต่งานแสดงแฟชั่นอย่าง ‘Paris Fashion Week’ ยังเรียกได้ว่าเป็นงานแสดงแฟชั่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย หากว่ากันตรง ๆ ปารีสคือ สัญลักษณ์ของความรุ่งเรืองอย่างที่สุดของแฟชั่นตะวันตก

การเรียก ปารีส ว่าเป็น “เมืองหลวงของแฟชั่น” ส่งผลให้เกิดสำนึกและการรับรู้ ต่อแฟชั่นในฐานะของปรากฏการณ์ที่จำกัดอยู่กับชนชั้นเดียว นั่นคือ ‘ชนชั้นสูง’ (elite)

การทำความเข้าใจกับแฟชั่นสมัยใหม่ผ่านบริบทของปารีสจึงไม่เพียงจะละเลยความเป็นไปได้ที่ว่ายังมีแฟชั่นในรูปแบบอื่น ๆ ที่แตกต่างไปจากแฟชั่นในยุโรปเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกัน มุมมองเช่นนี้ยังเป็นการผลิตซ้ำวิธีคิดแบบ ‘ขั้วตรงข้าม’ (dichotomy) ระหว่างโลกตะวันตกกับโลกตะวันออก (หรือพื้นที่อื่นๆ) กล่าวคือ ในขณะที่วัฒนธรรมการแต่งกายของโลกตะวันตกจะถูกรับรู้ว่าเป็นแฟชั่น ทว่าในพื้นที่อื่น ๆ เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายกลับถูกนิยามว่าเป็นแค่ ‘เสื้อผ้าประจำท้องถิ่น’ (traditional clothing)

วิธีคิดที่มองว่า แฟชั่นสมัยใหม่จะต้องถือกำเนิดขึ้นจากยุโรป บดบังความเป็นไปได้ ที่เราจะกวาดสายตา มองไปยังพื้นที่อื่น ๆ แล้วทำความเข้าใจกับแฟชั่นในรูปแบบอื่น ๆ ที่ปรากฎอยู่ในอีกหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยที่ว่าแฟชั่นในพื้นที่อื่น ๆ เหล่านั้น ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องมี ความเหมือนกับแฟชั่นของโลกตะวันก หรือเป็นผลผลิตจากตะวันตก

เรื่องนี้สอดคล้องกับหนังสือ Fashion and Cultural Studies ของ Susan B. Kaiser ศาสตราจารย์ด้านเสื้อผ้าและสิ่งทอ ที่มองเห็นว่า ความพยายามจะผูกขาดต้นกำเนิดของแฟชั่นสมัยใหม่อยู่กับยุโรปนำไปสู่การประกอบสร้างวาทกรรมที่สะท้อนว่าชาติตะวันตก ‘สูงส่งและมีคุณค่ากว่า’ ชาติอื่นๆ ในโลก ไม่ว่าจะในแง่ของเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และรสนิยม

แฟชั่นสมัยใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้นที่ยุโรปนั้น ได้ผลักให้สถานะของเครื่องแต่งกายอื่น ๆ กลายเป็นเสื้อผ้าประจำท้องถิ่นทั่ว ๆ ไป ที่นอกจากจะชวนให้รู้สึกว่าน่าเบื่อ เก่าแก่ และแน่นิ่งแล้ว ยังปราศจากคุณสมบัติของเสื้อผ้าแฟชั่นที่มักจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

คำถามคือ ต่อให้เครื่องแต่งกายใด ๆ จะถูกนิยามว่าเป็นเสื้อผ้าประจำท้องถิ่น แต่นั่นเท่ากับว่าเครื่องแต่งกายเหล่านั้นจะต้องหยุดนิ่งเสมอไปเลยหรือ? การเปลี่ยนแปลงคือสมบัติเฉพาะของแฟชั่นยุโรปเท่านั้นหรือ?

 

American Colonial Fashion, 18th Century Photograph by Science Source | Fine Art America

 

เพราะทุกที่ทั่วโลกมีแฟชั่น ไม่ใช่จำกัดเพียงในโลกตะวันตกเท่านั้น


การศึกษาโลกตะวันออกของชาวตะวันตก คือการผลิตซ้ำภาพแทนผิด ๆ และความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับชาวตะวันออก ไม่ว่าจะในประเด็นของความเชื่อ วัฒนธรรม และชาติพันธุ์ ความเข้าใจเหล่านี้ โดยส่วนมากมักจะผลิตขึ้นจากนักเขียน นักวิชาการชาวตะวันตกที่เดินทางไปศึกษาสังคมตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคอาณานิคม

ทั้งนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับโลกตะวันออก ที่ถูกผลิตขึ้นจากปลายปากกาของนักเขียนและนักวิชาการเหล่านี้ นำมาซึ่งความเข้าใจสังคมตะวันออกผ่านสายตาของชาวตะวันตก

ที่ไม่เพียงแต่จะเต็มไปด้วยอคติ แต่ยังขาดความละเอียดอ่อน จนเกิดเป็นการบันทึกข้อมูลอย่างทื่อ ๆ ง่าย ๆ หรือบ้างก็เป็นการบันทึกด้วยน้ำเสียงที่ตกตะลึงตื่นเต้น ขยายเรื่องราวของชาวตะวันออกจนแปลกประหลาดเกินจริง ภายใต้ทัศนคติซึ่งมองว่าวัฒนธรรมตะวันออกนั้นแตกต่างไปจากวัฒนธรรมตะวันตกอย่างสุดโต่ง

 

 

ข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกโดยนักเขียน และนักวิชาการชาวตะวันตก เมื่อถูกส่งกลับไปยังอีกซีกโลกหนึ่งก็ ย่อมสร้างความตื่นตะลึงให้กับสังคมตะวันตก นำมาซึ่งการรับรู้โลกตะวันออกว่าเป็นพื้นที่ ‘แปลกประหลาด’ (exotic) ควบคู่ไปด้วยกัน

โลกตะวันออกยังถูกมองว่าเป็นพื้นที่ป่าเถื่อน ล้าสมัย และด้อยปัญญา นำไปสู่การรับรู้ภาพลักษณ์ของสังคมตะวันออกว่าเป็นพื้นที่อันแน่นิ่งไม่พัฒนา ปราศจากความรู้ และวิทยาการที่จะนำมาซึ่งความก้าวหน้า และความซิวิไลซ์เฉกเช่นเดียวกับโลกตะวันตก พูดอีกอย่างคือ สังคมตะวันตกย่อมจะสูงส่ง และมีรสนิยมที่ดีกว่าสังคมตะวันออกเป็นไหน ๆ

 

แฟชั่นโลก

 

พัฒนาการของแฟชั่นในทุก ๆ สังคม ไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของแฟชั่นตะวันตกเสมอไป


ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา พัฒนาการของแฟชั่นในทุกๆ สังคมไม่ได้ถูกยึดโยง หรืออยู่ภายใต้อำนาจของแฟชั่นตะวันตกเสมอไป แม้ว่าในปัจจุบันอิทธิพลของแฟชั่นตะวันตกจะแทรกซึมไปทุกพื้นที่ทั่วโลกแล้วก็จริง หากนั่นก็ไม่ได้แปลว่าเมื่อแฟชั่นตะวันตกแทรกซึมเข้ามาในสังคมหนึ่ง ๆ รสนิยมแบบแฟชั่นตะวันตกจะไม่ถูกท้ายทายจากแฟชั่นในสังคมนั้น ๆ และในขณะเดียวกันก็ไม่ได้แปลว่า แฟชั่นในสังคมอื่น ๆ จะไม่เคยเข้าไปท้าทายหรือปะทะกับรสนิยม และสุนทรียะของแฟชั่นตะวันตก

 

แฟชั่นโลก
Rei Kawakubo

แฟชั่นคือความเปลี่ยนแปลง แฟชั่นคือการหยิบยืม ช่วงชิง แลกเปลี่ยน และผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมต่าง ๆ แน่นอนว่า ความไม่เท่าเทียมกันของอำนาจย่อมเป็นประเด็นสำคัญที่เราจำเป็นจะต้องระลึกถึงอยู่เสมอ แน่นอนว่าแฟชั่นตะวันตกคือประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องกลับไปพิจารณาอยู่เสมอแต่อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า แฟชั่นตะวันตกก็เป็นเพียงแค่ ‘แฟชั่นรูปแบบหนึ่ง’ เท่านั้น



ผู้ตั้งกระทู้ KBH :: วันที่ลงประกาศ 2024-03-28 10:00:38


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2013 All Rights Reserved.